ในช่วงที่ผ่านมา หลายครัวเรือนต้องเผชิญกับปัญหาค่าไฟแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิม ทำให้หลายคนสงสัยว่าเกิดจากสาเหตุใด มาทำความเข้าใจองค์ประกอบของค่าไฟและสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟแพงกัน
องค์ประกอบของค่าไฟ
การคิดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนประกอบด้วย 4 ส่วนหลักที่ส่งผลต่อจำนวนเงินในบิลค่าไฟ ได้แก่
ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) - คำนวณจากโครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง การรับซื้อไฟฟ้า ค่าระบบส่ง และค่าระบบจำหน่าย มีการปรับทุก 3-5 ปี
ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) - สูตรปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติที่พิจารณาทุก 4 เดือน สะท้อนต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง
ค่าบริการรายเดือน - ค่าใช้จ่ายในการอ่านมิเตอร์ จัดทำบิล ระบบชำระเงิน และงานบริการลูกค้า
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - คิดในอัตรา 7% จากค่าไฟฟ้าทั้งหมด
ค่าไฟแพงเกิดจากอะไร
ปัญหาค่าไฟแพงมากที่หลายบ้านกำลังเผชิญ มีสาเหตุหลักมาจาก 4 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้
พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า
การเพิ่มขึ้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การทำงานที่บ้าน การใช้เครื่องปรับอากาศและเครื่องฟอกอากาศต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น แม้จะไม่รู้สึกว่าใช้ไฟมากขึ้นก็ตาม
ค่า Ft ที่เพิ่มขึ้น
การปรับขึ้นของค่า Ft อย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2565-2566 จาก 1.39 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย และล่าสุดอยู่ที่ 91.19 สตางค์ต่อหน่วย (ไม่รวม VAT) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ทำให้ค่าไฟในภาพรวมสูงขึ้นตามไปด้วย
เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือมีไฟรั่ว
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดหรือมีไฟรั่วเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ค่าไฟแพงโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่ใช้ไฟมาก เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า นอกจากทำให้เสียค่าไฟเพิ่มแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
สภาพอากาศ
อากาศร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในฤดูร้อน ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็นต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้กินไฟมากกว่าปกติ แม้จะใช้งานในระยะเวลาเท่าเดิม
วิธีลดและแก้ปัญหาค่าไฟแพงมาก
เมื่อเข้าใจสาเหตุของค่าไฟแพงแล้ว มาดูวิธีแก้ปัญหาและลดค่าไฟที่ทำได้จริง
ติดตั้งโซล่าเซลล์
การติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นทางเลือกที่ช่วยประหยัดค่าไฟได้ 30-70% โดยสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ฟรีในช่วงกลางวัน นานถึง 8 ชั่วโมง และหากผลิตไฟเหลือยังสามารถขายคืนให้การไฟฟ้าได้ในราคา 2.2 บาทต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี
ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง
วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยประหยัดค่าไฟได้คือการถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งาน เพราะแม้จะปิดสวิตช์แล้วแต่ยังมีไฟรั่วไหลผ่านได้ นอกจากช่วยประหยัดค่าไฟแล้วยังช่วยป้องกันอัคคีภัยและยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
เปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่เหมาะสม
เครื่องปรับอากาศ นับว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากเป็นอันดับ 3 โดยจะใช้กำลังไฟอยู่ที่ประมาณ 1,200 – 3,300 วัตต์ ดังนั้น จึงควรตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25-28 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน สามารถใช้พัดลมร่วมด้วยเพื่อกระจายความเย็นให้ทั่วถึงและช่วยให้แอร์ทำงานน้อยลง
เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาว เพราะผ่านการทดสอบประสิทธิภาพตามมาตรฐาน กฟผ. แม้ราคาอาจสูงกว่าแต่คุ้มค่าในระยะยาวด้วยการประหยัดค่าไฟที่มากกว่า
สรุปบทความ
ได้ทราบกันไปแล้วว่า ปัญหาค่าไฟแพงเกิดจากสาเหตุอะไร ก็อย่าลืมตรวจเช็กเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมถึงนำวิธีลดและแก้ปัญหาค่าไฟแพงที่ GREENERGY รวบรวมมาให้ไปทำตาม เพียงเท่าก็จะสามารถลดค่าไฟได้
หรือจะแก้ปัญหาด้วยการติดตั้งหลังคาโซล่าเซลล์กับ GREENERGY ซึ่งเราเป็นหนึ่งในเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา ออกแบบ ก่อสร้าง บำรุงรักษา และรับติดตั้งโซล่าเซลล์แบบครบวงจร อีกทั้งยังมีประสบการณ์และโครงการที่ประสบความสำเร็จมากมาย ทำให้คุณสามารถวางใจในการติดตั้งโซล่าเซลล์อย่างปลอดภัยกับเราได้อย่างแน่นอน โดยคุณ
สามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้
Comentarios